เมนู

ก็ธรรมมีลักษณะเป็นต้นของสมาธินั้น บัณฑิตพึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วใน
หนหลังนั่นแหละ.

ความหมายของคำว่า ปัญญินทรีย์



ปชานาตีติ ปญฺญา

ธรรมที่ชื่อว่า ปัญญา เพราะอรรถว่า
ย่อมรู้ทั่ว. ถามว่า ย่อมรู้ทั่วซึ่งอะไร? ตอบว่า ย่อมรู้ทั่วซึ่งอริยสัจทั้งหลาย
โดยนัยมีคำว่า นี้ทุกข์ เป็นต้น แต่ในอรรถกถาท่านกล่าวว่า ชื่อว่า ปัญญา
เพราะอรรถว่า ย่อมให้รู้ ถามว่า ย่อมให้รู้อะไร? ตอบว่า ย่อมให้รู้
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา.
ก็ปัญญานั้น ชื่อว่า อินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นอธิบดีเพราะครอบงำ
อวิชชา อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อินทรีย์ เพราะครองความเป็นใหญ่กว่าธรรม
อื่นในลักษณะแห่งการเห็น. ปัญญานั่นแหละเป็นอินทรีย์ ชื่อว่า ปัญญินทรีย์.
ก็ปัญญานี้นั้นมีการส่องแสงเป็นลักษณะ. และมีการรู้ทั่วเป็นลักษณะ เหมือน
อย่างว่า เมื่อบุคคลจุดประทีปให้สว่างในเวลากลางคืนในบ้านที่มีฝา 4 ด้าน
ความมืดย่อมหมดไป แสงสว่างย่อมปรากฏฉันใด ปัญญามีการส่องสว่างฉันนั้น
เหมือนกัน. ธรรมดาแสงสว่างเสมอด้วยแสงสว่างของปัญญาย่อมไม่มี. จริงอยู่
เมื่อมหาบุรุษผู้มีปัญญานั่งโดยบัลลังก์หนึ่ง หมื่นโลกธาตุก็มีแสงสว่างเป็น
อันเดียวกัน. ด้วยเหตุนั้น พระนาคเสนเถระจึงถวายพระพรพระราชาว่า
มหาบพิตร ในเวลาที่มืดค่ำแล้ว บุรุษพึงเอาประทีปเข้าไปวางไว้ในบ้าน
ประทีปที่นำเข้าไปแล้วย่อมกำจัดความมืด ย่อมยังโอภาสให้เกิดขึ้น ย่อมยัง
แสงสว่างให้รุ่งโรจน์ ย่อมทำรูปทั้งหลายให้ปรากฏ ฉันใด มหาบพิตร ปัญญา
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเกิดขึ้นย่อมกำจัดความมืดคือ อวิชชา ย่อมยังโอภาส